วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

วิดิโอความน่ารักของเจ้าสัตว์ตัวจิ๋ว



ห้ามอาบน้ำแฮมสเตอร์เด็ดขาดนะ !!!

หลายๆคนคงคิดว่าหนูแฮมที่ตัวเองเลี้ยงอยู่อาจจะสกปรกและคิดจะพาน้องๆไปอาบน้ำ จริงๆแล้ว แฮมสเตอร์เป็นสัตว์รักสะอาด ไม่จำเป็นต้องอาบน้ำ แฮมจะมีทรายสำหรับอาบน้ำอยู่แล้ว เนื่องจากเป็นสัตว์ทะเลทราย ดังนั้น จึงจะคลุกทรายเพื่อทำความสะอาดตัวเป็นปกติ การอาบน้ำจะทำให้ร่างกายอ่อนแอง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง จนทำให้เป็นปอดชื้น เจ็บป่วยได้ง่าย เนื่องจากร่างกายปรับตัวไม่ทันกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว แฮมสเตอร์จึงไม่ชอบน้ำ และว่ายน้ำไม่เป็น (ดังนั้น การใส่น้ำดื่มลงถ้วยแล้วให้น้องแฮมก็เป็นเรื่องผิดเช่นกัน ควรใส่กระบอกน้ำสำหรับแฮมโดยเฉพาะ)




ในกรณีที่สกปรกมาก หรือมีกลิ่นไม่พึงประสงค์ อาจใช้สำลีชุบน้ำอุ่นหรือน้ำเกลือล้างแผล บีบหมาด เช็ดย้อนขนแล้วทิ้ง 2 รอบ ตามด้วยผ้าขนหนูซับให้แห้ง และใช้ Nano Mousse เป็นโฟมแห้งสำหรับอาบน้ำสัตว์ชโลมตัว และใช้ผ้าขนหนูซับให้แห้ง




แฮมสเตอร์กินอะไรล่ะ ??

"ของอร่อยที่สุดก็คือ....เมล็ดทานตะวัน"

เชื่อว่าหลายๆคนคงเคยได้ยินเพลงน่ารักๆเพลงนี้มาแล้ว (เพลงประกอบการ์ตูน แฮมทาโร่) แต่คุณรู้หรือไม่ เมล็ดทานตะวันไม่ใช่อาหารหลักของแฮมสเตอร์ เพราะในเมล็ดทานตะวันอุดมไปด้วยไขมัน เพราะฉะนั้น การให้เมล็ดทานตะวันในจำนวนมากๆ จึงไม่ใช่ความคิดที่ถูกต้อง เหมือนกับคนเรา ที่ร่างกายไม่ได้ต้องการไขมันเยอะมาก 

แล้วอาหารหลักของแฮมสเตอร์คืออะไรล่ะ ??
จริงๆแล้ว อาหารหลักของแฮมสเตอร์คือธัญพืชหลากชนิดผสมกันในปริมาณที่เหมาะสม หากไม่มีความรู้ก็ไม่ควรผสมอาหารเอง ซึ่งในอินเตอร์เน็ตหรือเพจต่างๆใน Facebook ก็มีร้านที่จำหน่ายอาหารแฮมสเตอร์ที่ถูกหลักอยู่มากมาย ผู้เลี้ยงสามารถหาซื้ออาหารได้ในราคาที่ถูกและดี

แฮมสเตอร์พันธุ์ไจแอ้นท์จะกินอาหารยี่ห้อ (อาหารถุงที่มีคุณภาพ ขายตามร้านขายอาหารสัตว์เลี้ยงทั่วไป) ส่วนสายพันธุ์แคระจะกินธัญพืชผสมเป็นอาหารหลัก ซึ่งทั้งสองสายพันธุ์อาจะมีการสลับอาหารให้เพื่อกันเบื่อ





การให้อาหารแฮมสเตอร์ ควรให้วันละ 1 ครั้งเป็นเวลาเดียวกันทุกวัน โดยการเปลี่ยนอาหารให้ใหม่ทุกวัน หากของเก่าเหลือให้เททิ้งแล้วเติมของใหม่เข้าไป ปริมาณที่ให้ประมาณ 1-2 ช้อนชา (คำนวนให้พอดี แล้วแต่ความกินเก่งของแต่ละตัว) 

วิธีการเก็บอาหารให้แฮมสเตอร์
อาหารและขนมทั้งหมด ควรเปลี่ยนทุกๆ 1 เดือน เพื่อความสดใหม่ ไม่เก่าเก็บ การเก็บ
อาหารนานๆ ให้น้องแฮมกินอาหารเก่าๆ สารอาหารจะหายไปหมดและมีมอด ฝุ่นผงต่างๆ กลิ่นไม่หอมเหมือนเดิม เพื่อป้องกันการเลือกกินและกินน้อยลงจนทำให้ผอมลง จึงควรเปลี่ยนอาหารทุกๆ 1 เดือน

อาหารของน้องแฮมทุกชนิด โดยเฉพาะธัญพืชผสม ไม่ควรแช่ตู้เย็น การแช่ตู้เย็นนั้นอันตรายมากๆเพราะจะเกิดความชื้นและทำให้เกิดเชื้อราได้ง่าย เมล็ดพืชบางชนิดเกิดเชื้อราด้านในเมล็ด 

การเก็บอาหารที่ถูกต้อง ควรใส่กระปุกสุญญากาศ แล้วแบ่งออกมาใส่กระปุกเล็กๆ พอตักให้ครบอาทิตย์ เราจะได้ไม่ต้องเปิดกล่องซิบบ่อยๆให้อากาศเข้า หรืออาจจะใส่ซองดูดออกซิเจนเข้าไปด้วย (ซองดูดออกซิเจนไม่เหมือนกับซองกันชื้นนะคะ) เพราะพวกเชื้อราเชื้อโรคกับแบคทีเรียใช้ออกซิเจนในการมีชีวิต


วันพฤหัสบดีที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

รู้ไหม...แฮมสเตอร์ควรเลี้ยง 1 ตัวต่อ 1 กรงนะ !!!

แฮมสเตอร์มีนิสัยรักสันโดษ ชอบอยู่ตัวเดียว ไม่ต้องกลัวเหงา เพราะแฮมสเตอร์ไม่ต้องการเพื่อนร่วมกรง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลี้ยง 1 ตัว ต่อ 1 กรง !!  

ไม่สามารถเลี้ยงรวมได้ เมื่อยังเล็กจะสามารถเลี้ยงรวมได้ แต่เมื่อเข้าสู่ช่วงวัยรุ่น แฮมสเตอร์จะแสดงกลิ่นเฉพาะตัวออกมา เพื่อแสดงอาณาเขต จึงทำให้กัดกัน บางคู่อาจจะไม่กัดกัน แต่ตัวที่แข็งแรงจะข่มตัวที่อ่อนแอกว่า ทำให้อยู่อย่างไม่มีความสุข มีนิสัยดุร้าย กัดไม่เลือกที่และไม่เชื่องกับเจ้าของ 

ส่วนถ้าเลี้ยงรวมต่างเพศ จะทำให้เกิดการท้องก่อนวัยอันควร และท้องติดต่อกัน หากไม่มีการแยกกัน ส่งผลต่อสภาพแวดร่างกายและนิสัยของตัวเมีย ให้มีสภาพแย่ลง


ขนาดของกรงที่เหมาะสม

กรงแฮมสเตอร์ก็เหมือนบ้านของเรา ถ้าเราเลือกได้ก็อยากอยู่บ้านกว้างๆ สบายๆ สะอาด มีเฟอร์นิเจอร์ที่ครบครัน แฮมสเตอร์ก็เช่นเดียวกัน ดังนั้น หากต้องการเลี้ยงแฮมสเตอร์ ก็ควรศึกษาขนาดของกรงที่เหมาะสมก่อน ดังนี้

1. แฮมสเตอร์พันธุ์แคระ  :  กระบะด้านล่างควรมีขนาดประมาณกระดาษ A4 หรือเท่ากับ 30x21 ซม.ขึ้นไปขอบกระบะสูงประมาณ 2 นิ้วขึ้นไป ไม่ต้องมีตะแกรงกรงด้านล่าง แฮมสเตอร์พันแคระจะชอบการวิ่งเล่นและปีนป่าย ดังนั้นควรมีของเล่นให้เค้าอย่างเหมาะสม เช่น จักร ท่อมุด ที่มุดเล่น


2. แฮมสเตอร์พันธุ์ไจแอ้นท์  :  กระบะด้านล่างควรมีขนาดประมาณกระดาษ A4 ต่อกัน 2 แผ่น หรือขนาด 50x35 ซม.ขึ้นไป ขอบกระบะสูงประมาณ 2 นิ้วขึ้นไป ไม่ต้องมีตะแกรงกรงด้านล่าง ขนาดจักรที่เหมาะสม ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 19.5 ซม.ขึ้นไป ควรมีบ้านให้แฮมได้นอนหลับ และห้องน้ำสำหรับใส่ทรายให้แฮมคลุกตัว สำหรับพัธุ์นี้ ของเล่นไม่ค่อยจำเป็น แต่เค้าจะชอบออกมาเดินเล่นด้านนอกกรงมากกว่า



แฮมสเตอร์มีหลายสายพันธุ์ด้วยนะ...

โดยปกติแล้ว แฮมสเตอร์จะมีสายพันธุ์ทั้งหมด 4 สายพันธุ์ ซึ่งแต่ละสายพันธุ์จะมีลักษณะ สี ขนาด และนิสัยต่างกันออกไป ดังต่อไปนี้


1.Syrian Hamster หรือ สายพันธุ์ไจแอ้นท์  :  เป็นสายพันธุ์ที่ถูกพบครั้งแรก (ที่ทะเลทรายซีเรีย) เป็นพันธุ์ขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่แล้วขนาดจะอยู่ที่ราว 15-20 ซม. เท่านั้น พันธุ์นี้มีหลายแบบและหลายสี เมื่ออายุน้อย จะมีนิสัยหวาดระแวง ขี้กลัว แต่เมื่อนำมาเลี้ยงด้วยความเอาใจใส่แบบพิเศษ เมื่อโตขึ้นจะเชื่อง ไม่ดุร้าย น่ารัก




2. WinterWhite Dwarf Hamster หรือ สายพันธุ์วินเทอร์ไวท์  :  เป็นแฮมสเตอร์พันธุ์แคระ ตัวเล็ก มีลักษณะหน้าสั้นทู่ ตัวกลม ขนแน่น เมื่อโตเต็มที่แล้วจะขนาดอยู่ที่ 10-12 ซม. โดยพื้นฐานนิสัยน่ารัก ไม่ดุร้าย เชื่องง่าย และเป็นมิตร เหมาะสำหรับผู้หัดเลี้ยง



3. Campbell Dwarf Hamster หรือ สายพันธุ์แคมเบล  :  เป็นแฮมสเตอร์พันธุ์แคระ ลักษณะคล้ายวินเทอร์ไวท์ แต่ตัวจะใหญ่กว่า มีนิสัยขี้หงุดหงิด อารมณ์รุนแรง หวงถิ่นมากและกัด แต่ก็สามารถทำให้เชื่องได้ถ้าเลี้ยงถูกวิธี ไม่เหมาะสำหรับมือใหม่หัดเลี้ยง




4. Roborovski Dwarf Hmster หรือ สายพันธุ์โรโบรอฟสกี้  :  เป็นสายพันธุ์ที่ตัวเล็กที่สุด โตเต็มที่ขนาดเพียง 2 นิ้ว หน้าตาจะไม่เหมือนสายพันธุ์อื่นๆ สีจะคล้ายทรายในทะเลทรายเพื่อพรางตัวจากศัตรู มีดวงตากลมโต มีนิสัยตื่นตัวอยู่เสมอ คล่องแคล่ว ว่องไว วิ่งเร็ว ขี้กลัว จับยาก แต่ไม่ดุไม่กัด สามารถอยู่รวมกันหลายตัวได้แต่ไม่ควรเกิน 4-5 ตัว และต้องเป็นเพศเดียวกัน เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้ดูเล่น



แฮมสเตอร์มาจากไหนนะ ??


แฮมสเตอร์เป็นสัตว์จำพวกฟันแทะ(Rodent) ขนาดเล็ก สัตว์ในจำพวกนี้ได้แก บีเวอร์ กระรอก กระต่าย และชินชิลล่า เป็นต้น 


ย้อนไปเมื่อ ปีพ.ศ. 2382 ได้มีการค้นพบแฮมสเตอร์พันธุ์ซีเรียสีทองที่ประเทศซีเรีย โดยนักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ และได้นำกลับไปยังสวนสัตว์ลอนดอน จากนั้นก็ไม่มีผู้ใดพบเห็นแฮมสเตอร์ในธรรมชาติอีกเลย จนบางคนคิดว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว


ต่อมา แม่แฮมสเตอร์และลูกๆอีก12 ตัวได้ถูกพบที่บริเวณประเทศซีเรียอีกเช่นเคย โดย Professor I.Aharoni จากHebrew University เมืองเยรูซาเล็ม ครั้งนี้พวกมันถูกพาตัวไปยังเยรูซาเล็ม แต่ก็เหลือรอดเพียง 3 ตัวเท่านั้น คือตัวเมีย 2 ตัว และตัวผู้อีก 1 ตัว


และนี่ก็คือบรรพบุรุษทั้ง 3ของแฮมสเตอร์เลี้ยง ซึ่งได้ทำหน้าที่สืบเผ่าพันธุ์น่ารักๆไว้ให้เราได้รู้จักกันในปัจจุบัน ในระยะแรกๆ แฮมสเตอร์เข้าสู่ประเทศอังกฤษ และประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนักวิทยาศาสตร์ใช้เป็นสัตว์ทดลองทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น กระทั่งมีผู้เห็นว่ามันเป็นสัตว์เลี้ยงที่แสนจะน่ารักน่าเอ็นดู จึงเริ่มนำออกมาเลี้ยงเป็นสมาชิกตัวหนึ่งในบ้าน และได้รับความนิยมในหมู่ผู้รักสัตว์เลี้ยงตั้งแต่นั้นมา (ข้อมูลจาก https://tunchanoksoart.wordpress.com/ประวัติความเป็นมาของหน/ )